HQ102 ภาคปลาย2557

ยินดีต้อนรับสู่เพจเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสาร บล็อคนี้ใช้สำหรับส่งงานวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสาร HQ102 2557 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะมนุษยศาสตร์ 
สาขาการท่องเที่ยว

ทบทวนสำหรับกลางภาค
1. เทคโนโลยีสารสนเทศ
2. อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
3. CRS – Computer Reservation System
4. GDS – Global Distribution System
5. Cloud Computing
6. E-Tourism
7. Web blog

1.เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เซิร์ฟเวอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่าง ๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)
เทคโนโลยีสารสนเทศ บางครั้งเรียก เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communications technology ย่อว่า ICT)

2.อุตสาหกรรมท่องเที่ยว (Tourism Industry) ซึ่งประกอบด้วยธุรกิจหลายประเภท ทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรง และธุรกิจที่เกี่ยวข้องทางอ้อม หรือธุรกิจสนับสนุนต่าง ๆ การซื้อบริการของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ถือได้ว่าเป็น การส่งสินค้าออกที่มองไม่เห็นด้วยสายตา (Invisible Export) เพราะเป็นการซื้อด้วยเงินตราต่างประเทศ การผลิต สินค้า คือ บริการต่าง ๆ ที่นักท่องเที่ยวซื้อก็จะต้องมีการลงทุน ซึ่งผลประโยชน์จะตกอยู่ในประเทศและจะช่วยให้เกิด งานอาชีพอีกหลายแขนง เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ทางด้านสังคมการท่องเที่ยวเป็นการพักผ่อนคลาย ความตึงเครียด พร้อม กับการได้รับความรู้ ความเข้าใจในวัฒนธรรมที่ผิดแผกแตกต่างออกไปอีกครั้ง อุตสาหกรรม ท่องเที่ยวเป็นแหล่งที่มาของรายได้ในรูปเงินตราต่างประเทศ ซึ่งจะมีส่วนช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับดุลการชำระเงินได้ เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ การท่องเที่ยวยังมีบาทบาทช่วยกระตุ้นให้มีการนำเอาทรัพยากรของประเทศมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ที่ผู้อยู่ในท้องถิ่นได้เก็บมาประดิษฐ์เป็นหัตถกรรมพื้นบ้านขายเป็นของ ที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยว ซึ่งสรุปได้ว่าบาทบาทและความสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจสังคมและการเมือง

3.ระบบสำรองที่นั่งผ่านคอมพิวเตอร์ (Computerize Reservation System: CRS)     เกิดจากกลุ่มสายการบินและกลุ่มร่วมกันพัฒนา เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์ในด้านการจัดจำหน่ายอีกรูปแบบหนึ่ง โดยเป็นการกระจายการขายไปยังตัวแทนจำหน่ายทั่วโลก ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันทำให้ CRS แต่ระบบเพิ่มผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นอกเหนือจากการสำรองที่นั่งสายการบิน อาทิ การจองห้องพักโรงแรม รถเช่า การจองที่นั่งรถไฟ ฯลฯ ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่า การสำรองที่นั่งแบบเบ็ดเสร็จ (Global Distribution System: GDS)

4.GDS คือ ระบบตัวแทนจำหน่ายสากลหรือเรียกสั้น ๆ ว่า GDS (Global Distribution Systems) นับเป็นระบบสารสนเทศในยุคแรก ๆ ของการนำระบบสารสนเทศมาใช้เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน SABRE เป็น GDS ระบบแรกที่ถูกพัฒนาและนำมาใช้งานครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1963 โดยสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ระบบ SABRE ถูกพัฒนาขึ้นนอกจากเพื่อตอบสนองการลดข้อจำกัด (Deregulation) ในอุตสาหกรรมการบินแล้วปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบได้แก่ การอำนวยความสะดวกแก่ตัวแทนจำหน่ายตั๋วเครื่องบินในการควบคุมและสำรองที่นั่งผู้โดยสาร ความต้องการเพิ่มยอดขายตั๋วของสายการบิน และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสื่อสารที่ทำให้มีความเป็นไปได้ทางเทคนิคในการนำระบบมาใช้ สายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ประสบความสำเร็จอย่างมากในการใช้ระบบ SABRE โดยสายการบินได้นำเครื่องคอมพิวเตอร์และระบบไปติดตั้งให้แก่ตัวแทนจำหน่าย ความได้เปรียบในการแข่งขันที่สายการบินได้รับคือ
(1) ระบบจะควบคุมข้อมูลที่ปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์โดยเมื่อตัวแทนจำหน่ายเรียกดูข้อมูลสายการบิน ระบบจะแสดงตารางการบินของสายการบินที่เป็นสมาชิกของ SABRE ให้ก่อน
(2) ตัวแทนจำหน่ายที่ใช้ระบบ SABRE ห้ามใช้ระบบอื่น ๆ ในการจองตั๋วเครื่องบิน
(3) สายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ซึ่งเป็นเจ้าของระบบจะได้รับค่าธรรมเนียมจากการเข้ามาเป็นสมาชิกในระบบของสายการบินอื่น
(4) ระบบสามารถนำไปใช้ในการให้บริการอื่น ๆ เช่น การจองรถเช่า การจองที่พัก

 5.Cloud Computing คือวิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบCloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้อง การผู้ใช้ ทั้งนี้ระบบสามารถเพิ่มและลดจำนวนของทรัพยากร รวมถึงเสนอบริการให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบเลยว่าการทำงานหรือเหตุการณ์เบื้องหลังเป็น เช่นไร
ความต้องการ (Requirement) คือโจทย์ปัญหาที่ผู้ใช้ต้องการให้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ไขปัญหาหรือตอบปัญหาตาม ที่ผู้ใช้กำหนดได้ ยกตัวอย่างเช่น ความต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาด 1,000,000 GB, ความต้องการประมวลผลโปรแกรมแบบขนานเพื่อค้นหายารักษาโรคไข้หวัดนกให้ได้สูตร ยาภายใน 90 วัน, ความต้องการโปรแกรมและพลังการประมวลผลสำหรับสร้างภาพยนต์แอนนิเมชันความยาว 2 ชั่วโมงให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือน, และความต้องการค้นหาข้อมูลท่องเที่ยวและโปรแกรมทัวร์ในประเทศอิตาลีในราคา ที่ถูกที่สุดในโลกแต่ปลอดภัยในการเดินทางด้วย เป็นต้น
ทรัพยากร (Resource) หมายถึง ปัจจัยหรือสรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลหรือเกี่ยวข้องกับการแก้ไข ปัญหาตามโจทย์ที่ความต้องการของผู้ใช้ได้ระบุไว้ อาทิเช่น CPU, Memory (เช่น RAM), Storage (เช่น harddisk), Database, Information, Data, Network, Application Software, Remote Sensor เป็นต้น
บริการ (Service) ถือว่าเป็นทรัพยากร และในทางกลับกันก็สามารถบอกได้ว่าทรัพยากรก็คือบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านCloud Computingแล้ว เราจะใช้คำว่าบริการแทนคำว่าทรัพยากร คำว่าบริการหมายถึงการกระทำ (operation) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สนองต่อความต้องการ (requirement) แต่การกระทำของบริการจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากร โดยการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาให้เกิดผลลัพธ์สนองต่อความต้อง การ
สำหรับCloudComputingแล้วผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจเลยว่าระบบเบื้องล่างทำงานอย่างไร ประกอบไปด้วยทรัพยากร(resource) อะไรบ้าง ผู้ใช้แค่ระบุความต้องการ(requirement) จากนั้นบริการ(service)ก็เพียงให้ผลลัพธ์แก่ผู้ใช้ ส่วนบริการจะไปจัดการกับทรัพยากรอย่างไรนั้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจ สรุปได้ว่า ผู้ใช้มองเห็นเพียงบริการซึ่งทำหน้าที่เสมือนซอฟต์แวร์ที่ทำงานตามโจทย์ของ ผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับทราบถึงทรัพยากรที่แท้จริงว่ามีอะไรบ้างและถูก จัดการเช่นไร หรือไม่จำเป็นต้องทราบว่าทรัพยากรเหล่านั้นอยู่ที่ไหน

6.E-Tourism หมายถึง คือการใช้ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีในการท่องเที่ยวเพื่อช่วยให้การท่องเที่ยวเป็นเรื่องง่าย ในปัจจุบัน E-Tourism ไม่ใช่เรื่องแปลกในระดับโลกอีกต่อไปเพราะธุรกิจท่องเที่ยว บริษัททัวร์ต่างๆที่เป็นบริษัทระดับยักษ์ใหญ่ของโลกนั้นต่างใช้ E-Tourism ในการดำเนินธุรกิจเพื่อให้ได้ฐานลูกค้าที่กว้างขึ้นและทำให้การบริการด้านการท่องเที่ยวเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลกโดยผ่านอินเตอร์เน็ตออนไลน์ การเข้ามาของอินเทอร์เน็ตได้ปฏิวัติวิถีการท่องเที่ยวแบบโบราณ โดยเฉพาะ การสืบค้นข้อมูล ข้อหาสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมชั่น รวมถึงวางแผนการเดินทางล่วงหน้า ให้ง่ายดุจพลิกฝ่ามือ และยังสร้างสรรค์โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการได้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุดมากขึ้น

7.Web blog มีประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวอย่างไร เป็นประโยชน์ต่อนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการ ช่วยประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล ช่วยในการจองที่พักโรงแรม หรือ ร้านอาหารต่างๆ โดยการจองออนไลน์ เพียงการใส่ข้อมูลเข้าไปผลลัพต่างๆก็จะขึ้นมาให้เลือกสรรตามหัวข้อที่เราคีเวิดเข้าไป ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและรวดเร็ว รวมไปถึงมีเพจที่แนะนำการท่องเที่ยวในสถานที่ต่างๆ แล้วยังมี รีวิวสำหรับนักท่องเที่ยวที่ยังไม่เคยไปได้รับข้อมูลจากนักท่องเที่ยวที่ไปมาแล้วจากประสบหารจริง และยังมีโปรโมชั่นต่างๆสำหรับนักท่องเที่ยว และเว็บบล๊อกยังช่วยสร้างความสะดวกสบายให้กบผู้ประกอบการ

สรุป
เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญในการอำนวยความสะดวกให้แก่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในรูปแบบออนไลน์ผ่านเครือข่ายสร้างเป็น e-Tourism ซึ่งสามารถเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวใช้สื่อออนไลน์ ทำธุรกรรมผ่านอินเตอร์เน็ต บนอุปกรณ์ที่หลากหลาย ได้แก่ คอมพิวเตอร์ เครื่องมือสื่อสาร iPhone iPads หรือตู้ Self Service ในสถานที่ ทั้งนี้ทำให้ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ใช้บริการ และลดต้นทุนของผู้ประกอบการ อีกทั้งช่วยเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ผ่านสื่อต่างๆ เช่น Facebook หรือ Twitter นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังสามารถใช้ Web Blog เพื่อเผยแพร่ข้อมูล สร้างสรรค์ข้อมูล ที่มีประโยชน์ต่อผู้ชมเว็บ ให้รับรู้ข่าวสาร และข้อเท็จจริงเรื่องการท่องเที่ยวนอกเหนือจากที่ได้รับการเผยแพร่โดยองค์กรหรือบริษัทผู้ประกอบการอีกด้วย โดยทั้งหมดนี้สามารถใช้บริการผ่านระบบเครือข่าย Cloud Computing ที่มีให้บริการ SaaS พวกโปรแกรมสำหรับสร้างเว็บบล็อก ไม่ว่าจะเป็น Blogger เป็นต้น Cloud Computing ยังมีประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการที่ใช้ CRS ในการตรวจสอบ และจองห้องพัก หรือระบบ GDS เพื่อตรวจสอบเที่ยวบิน สถานะเที่ยวบิน และจองตั๋วเดินทาง โดยเชื่อมโยงข้อมูลผ่านเครือข่ายได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

No comments:

Post a Comment